Responsive image
เมนูหลัก.
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
บทบาทหน้าที่
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
งานบริหารทั่วไป
กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น และ กลุ่มงานบริการสาธารณะและประสานงานท้องถิ่นอำเภอ
กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
กลุ่มงานกฎหมายระเบียบและเรื่องร้องทุกข์
กลุ่มงานการเงินบัญชีและการตรวจสอบ
บุคลากรท้องถิ่นอำเภอ
ข่าวสารราชการ
หนังสือราชการ สถ.จ.
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
สมัครสอบสายงานผู้บริหาร อปท.
ITA
ITA ปี พ.ศ. 2567
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
คู่มือประชาชน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประวัติความเป็นมา
ประวัติเมืองชุมพร

   จังหวัดชุมพร มีชื่อปรากฏมาแต่ปี พ.ศ.1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ทางตอนบนของภาคใต้ การเดินทางโดยทางบกจำเป็นต้องผ่านเมืองชุมพร ในปีพุทธศักราช 1997 แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา จนถึงปีพุทธศักราช 2495 จึงมีฐานะเป็นจังหวัดมณฑลสุราษฎร์ธานี

   คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้เข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” แต่ด้วยหรือเหตุที่ภาคใต้ชอบพูดคำสั้นๆ จึงตัดคำกลางออกเหลือเพียง “ชุมพล” และต่อมาได้เพื้ยนเป็น “ชุมพร” อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปรบทัพจับศึกของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อจะเคลื่อนพล จะต้องทำพิธีส่งทัพ โดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ตรงกับความหมายว่า ชุมนุมพร หรือ ประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมพร” เช่นเดียวกัน
   แต่อีกทางหนึ่ง สันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อของพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่นเช่นเดียวกับชื่อในท้องถิ่นโดยทั่วไป เพราะที่ตั้งเมืองเดิม บนฝั่งท่าน้ำชุมพรมีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองอยู่ในตราจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้

   เมืองชุมพรได้ก่อสร้างมาแล้วประมาณ 600 ปี จนถึงปัจจุบัน และทางจังหวัดได้ดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก หน้าสนามเทศบาลเมือง โดยได้ทำพิธีตัดไม้ราชพฤกษ์ เพื่อนำมาทำเป็นเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ ณ วัดเทพเจริญ (วัดถ้ำรับร่อ) ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ และเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2535 จังหวัดได้นำไม้ไปให้เรือนจำกลาง บางขวาง แกะสลักลายลงรักปิดทอง โดยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงวางศิลาฤกษ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม ทรงบรรจุ แผ่นยันต์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2535 และจังหวัดได้จัดงานเฉลิมฉลองศาลหลักเมือง โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดศาลหลักเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 และปัจจุบันมีคำขวัญประจำเมืองเมืองชุมพร ว่า 
"ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก"

ที่ตั้งและอาณาเขต

   จังหวัดชุมพรตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย บนแหลมมลายูบริเวณคอคอคกระ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามระยะทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เพชรเกษม)ประมาณ 489 กิโลเมตร และทางรถไฟสายใต้ประมาณ 468 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,010,849 ตร.กม หรือประมาณ 3,755,630 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ
ทิศใต้
ทิศตะวันออก
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
ติดต่อกับ
เขตอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เขตอำเภอละแม และอำภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เขตอำเภอปะทิว อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวนและอำเภอละแม จดอ่าวไทย
เขตอำเภอท่าแซะ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะติดต่อกับจังหวัด ระนอง และทิศตะวันตกของอำเภอท่าแซะ บางส่วนติดต่อกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า

ลักษณะภูมิประเทศ

   จังหวัดชุมพรมีลักษณะพื้นที่ยาวแคบ คล้ายรูปสี่เหลี่ยมยืนผ้า มีความยาวตามแนวชายฝั่งทะเล ประมาณ 222 กิโลเมตร มีความกว้าง ประมาณ 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3.75 ล้านไร่ หรือ 6,009,008 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชุมพรด้าน ทิศตะวันตก มีเทือกเขาตะนาวศรีและเทือกเขาภูเก็ตเป็น แนวกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ จึงมีลักษณะเป็นพื้นที่สูงลาดเทจากทิศตะวันตกสู่พื้นที่ต่ำ ทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญสายสั้นๆ หลายสาย เช่น แม่น้ำ ท่าตะเภา แม่น้ำหลังสวน และแม่น้ำสวี เป็นต้น

   จังหวัดชุมพรมีลักษณะพื้นที่ยาวแคบ คล้ายรูปสี่เหลี่ยมยืนผ้า มีความยาวตามแนวชายฝั่งทะเล ประมาณ 222 กิโลเมตร มีความกว้าง ประมาณ 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3.75 ล้านไร่ หรือ 6,009,008 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชุมพรด้าน ทิศตะวันตก มีเทือกเขาตะนาวศรีและเทือกเขาภูเก็ตเป็น แนวกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ จึงมีลักษณะเป็นพื้นที่สูงลาดเทจากทิศตะวันตกสู่พื้นที่ต่ำ ทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญสายสั้นๆ หลายสาย เช่น แม่น้ำ ท่าตะเภา แม่น้ำหลังสวน และแม่น้ำสวี เป็นต้น

   ส่วนบริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น และที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีความอุดม สมบูรณ์สูง เหมาะแก่การเพาะปลูก สมบูรณ์สูง เหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งมีเนื้อที่ดินประมาณ 1 ใน 4 ของพื้นที่จังหวัด และด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเล อ่าวไทย ชายหาดค่อนข้างเรียบ มีความโค้งเว้าน้อย และสวยงามมาก จึงเป็นสถานที่พักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด

ลักษณะภูมิอากาศ

   จังหวัดชุมพรตั้งอยู่บนแหลมมลายู ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลอันดามันกับทะเลจีนใต้ จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฤดู คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม และมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยเหตุนี้ จังหวัดชุมพรจึงได้รับปริมาณน้ำฝนมากทั้งสองฤดู โดยเฉพาะต้นฤดูมรสุดตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นช่วงที่ได้รับน้ำมากที่สุด เพราะอิทธิพลจาก หย่อมความกดอากาศต่ำ และพายุหมุนเขตร้อน ทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้างน้ำหลากจากเทือกเขาทางทิศตะวันตกลงสู่ที่ราบทางทิศตะวันออก และมักเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันบริเวณที่ราบลุ่มเกือบทุกปี

   ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรเป็นแบบมรสุมร้อนชื้น และแบ่งฤดูกาลในรอบปีได้ 2 ฤดู

   ด้วยอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดชุมพรเป็นแบบมรสุมร้อนชื้น และแบ่งฤดูกาลในรอบปีได้ 2 ฤดู

   ในปี 2543 มีจำนวนฝนตก 186 วัน ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 2,348.8 มม. ฝนตกมากที่สุดในเดือน ธันวาคม วัดได้ 342.4 มม อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน 35.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ในเดือนกุมภาพันธ์ 14.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.26 ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี 82.91

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดชุมพร
ศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ถนนไตรรัตน์ ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ : 0-7750-2133, 0-7750-2487  โทรสาร : 0-7750-2133
E-mail : cpnlocal@gmail.com


www.cpnlocal.go.th